วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2559

อาชีพนักเดินเรือ(พาณิชย์นาวี) กับตำแหน่งบนเรือพาณิชย์

สวัสดีครับเพื่อนๆทุกคน ผมมีความรู้มาแลกเปลี่ยนสำหรับคนที่อยากทราบเกี่ยวกับ อาชีพเดินเรือ พาณิชย์ (พาณิชย์นาวี )

มาเริ่มความรู้เบื้องต้นกันเลยดีกว่า ต้องขอเรียนให้ทราบท่านที่อยากได้เงินเดือนสูงๆ ไม่ต้องเป็นนักบินก็เงินเดือน หลักแสนได้ แต่มันก็ไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะการเรียนเกี่ยวกับอาชีพเดินเรือ ตอนนี้มีการแข่งขั้นกันสูงพอสมควร เพราะคนเริ่มรู้จักกันมายิ่งขึ้น การที่มีคนรู้จักกันมากขึ้นไม่ใช่ว่าทุกคนจะประสบความสำเร็จกับอาชีพนี้ เพราะว่า มันขาดอิสระ ต้องอยู่บนเรือ แต่ขอดีของมันคือ เที่ยวฟรีมีตังเก็บ เงินเดือนขั้นต่ำ บนเรือที่ผมเคยทำคือ 15,000 บาท สูงสุด 250,000-350,000 บาท นั้นคือ Capt.  ตำแหน่งสูงสุดของเรือลำนั้น มาเริ่มรู้จักกันเป็นข้อๆ เลยดีกว่า

1>จะทำงานบนเรือต้องใช้วุฒิอะไร

 2>ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

3> หากเรียน แล้วจะมีงานรองรับไหม

 4>ตำแหน่งบนเรือมีอะไรบ้าง

5>แล้วทำยังไงให้เป็น Capt. หรือ Chief Engineer (ตำแหน่งสูงสุดบนเรือ) มาเริ่มกันเลยกล่าวมาซะยาวเลย

<< 1 >> จะทำงานบนเรือใช้วุฒิ อะไร ตอบ คือ

 1.1. ลูกเรือเริ่ม  ม.3 ขึ้น ไป สามารถสื่อสาร อ่านเขียน ภาษาไทยได้ ไม่เป็นผู้พิการ ตาบอดสี ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรืออย่างทุกบริษัทกำหนด นั้นแหละ สำคัญคือ ห้ามติดสุรา ยาเสพติด ตรวจเจอ ตกงานทันที

1.2. นายประจำเรือหรือนายยาม ต้องใช้วุฒิ ม.6 หรือเทียบเท่า

 << 2 >> จำเป็นต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง หากอยากจะลงเรือ

2.1 เอกสารที่ต้องใช้ก่อนทำงานบนเรือ มีหลายอย่างมาก แต่จำเอาแบบตำแหน่งต่ำๆแล้วกันนะครับ ที่ต้องใช้หลักๆ คือ

 1 Seaman Book (หนังสือคนประจำเรือ)

2 Passport (หนังสือเดินทาง )

 3 Medical Fitness ( ตรวจร่างกายเบื้องต้นก่อนลงเรือ ) ขอเพิ่มเติม ต้องเป็นโรงพยาบาลที่ได้รับการรับรองจากกรมเจ้าท่าเท่านั้น

4 STCW 2010 (หนักสูตรพื้นฐานก่อนลงเรือ )

 5 Endorse Seafarer ( เอาหัวอันที่ 4 ไปทำการรับรองจาก กรมเจ้าท่า)

6 Security Awareness (หลักสูตรความปลอดภัย)

7 Security Duties (หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย) เพิ่มเติมเรียนรู้ตำแหน่ง SSO บนเรือ 8 MLC Awareness (หลักสูตร ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายทางทะเล)

9 Tanker Familiarization Cargo Operations ( หลักสูตร ของเหลวในระวาง) แค่นี้ ก็สามารถลงทำงานบนเรือสินค้าได้ แล้ว แต่คนที่ต้องการทำเกี่ยวกับ เรือบรรทุกน้ำมันต้องอบรม ขอ 9 เพิ่มเติม นี้เป็นแค่ตำแหน่ง OS(กะลาสีเรือ) เท่านั้น ส่วนตำแหน่งบนเรือเดียวแจ้งให้ทราบอีกครั้ง

<< 3 >> จบแล้วมีงานรองรับไหม ตอบ อันนี้อยู่ที่ว่าเราจะหาที่ ที่เหมาะกับเราได้หรือเปล่า ทุกบริษัท มีข้อจำกัดในการรับคนครับ บางบริษัทเปิดโอกาสให้คนใหม่ๆเสมอเงินเดือนอาจจะน้อยมากและเหนื่อยมาก ในก้าวแรก ซึ่งทุกคนไม่ผ่านด่านนี้ รู้สึกเสียด้ายตั้งแต่ เวลาต้องแต่ก้าวแรกที่เดินหาบริษัทสมัครงาน แล้ว บอกเลยครับอย่าท้อ มีงานทำแน่ๆ แต่หากผ่านครั้งแรกไปได้บอกเลย เตรียมตัวมีตังใช้ได้เลย

<< 4 >> ตำแหน่งบนเรือมีอะไร บ้าง ตอบ ผมยกตัวอย่างเรือ ขนาดกลางแล้วกันครับ บนเรือจะแบ่งงานเป็นสองฝ่าย ปากเรือ กับห้องเครื่อง หรือ เอาให้เข้าใจง่ายๆ ฝ่ายเดินเรือ กับฝ่าย ช่างนั้นเอง ผมยกตัวอย่างจาก บนลงล่างนะครับ สูงสุด นายยาม Deck (ปากเรือ) Engine (ห้องเครื่อง) Capitan กัปตัน Chief Engineer ต้นกล Chief Officer ต้นเรือ Second Engineer รองต้นกล Second Officer ต้นหน Third Engineer นายช่างกลที่ 3 Third Officer ผู้ช่วยต้นเรือ Forth Engineer นายช่างกลที4 ลูกยาม Boson สรั่งปากเรือ Fitter สรั่งห้องเครื่อง Able Seaman นายท้ายเรือ Oiler ช่างน้ำมัน OS กะลาสี Wiper ช่างเช็ด Deck Cadet นักเรียนฝึกปากเรือ Engine Cadet นักเรียนฝึกห้องเครื่อง ห้องครัว Chief Cook หัวหน้าคนครัว Second Cook ผู้ช่วยหัวหน้าคนครัว Messman บริกร ตำแหน่งที่กล่าว มาทั้งหมดนั้น หากเราเริ่มจาก ลูกยาม กว่าจะเป็นกัปตันแสนจะยาก แต่หากเราเริ่มจาก นายยามก็จะไปได้เร็วขึ้นมาอีกนิด

 << 5 >>  ทำยังไง ให้เป็น Captain / Chief Engineer ตอบ การจะทำงานให้ตัวเองถึงจุดสูงสุดในสายงาน ก็คงรู้อยู่แล้วว่ามันต้องแลกมาด้วยความพยายาม และเวลา แต่ทำยังไงนั้น ผมมีความลับมากบอก 1. การเริ่มต้นจากคนที่ไม่มีประสบการณ์ เลย แนะนำให้เรียน เกี่ยวกับนายประจำเรือไปเลยใช่เวลาหน่อยในการเรียนแต่คุ้มทำงานบนเรือ ครั้งแรกเป็น Cadet หลักจบหลักสูตร ขึ้นเป็น Third Officer หรือไม่ก็ Forth Engineer แล้วแต่ความสามารถ จะไปพอสมควร 2. ลงเรือทีมีขนาดเล็ก เรือที่มีขนาดเล็กจะมีคู่แข็งน้อยเพราะเงินเดือนไม่สูงแต่ขึ้นตำแหน่งไว เพราะ ใช้เอกสารไม่มาก เช่นเรือ ประเภท Local trade เรือเรือวิ่งภายในประเทศ เก็บประสบการณ์ไปเรื่อยๆ และพัฒนาตัวเองขึ้นไป เรือที่มีขนาดใหญ่ หากเพื่อนๆคนไหนสนใจรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถ Comment ได้เลยครับ ผมจะเข้ามาตอบ ส่วนเรือที่ไม่ได้พูดถึงยังไม่อีกเยอะครับ เช่น เรือสำราญ , Crew Boat , Supply Rig , Storage Tanker , Accommodation Barge ฯลฯ

ส่วนสถาบันอบรม ที่ผมจะยกตัวอย่าง ลองเข้าไปสอบถามดูได้ครับ พร้อมให้ทุกคำปรึกษาครับ http://cns.ac.th/



ขอบคุณบทความจาก : www.cns.ac.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น